จังหวัดสกลนคร ถือได้ว่าเป็นเมืองพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีวัดวาอารามเก่าแก่อยู่มากมาย
แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ในครั้งอดีต
และเป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่เคารพบูชาของคนไทยมากมาย อาทิเช่น
พระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร หลวงปู่หลุย จันทสาโร
พระอาจารย์วัน
อุตตโม หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น และวันนี้เราได้มีโอกาสมาเที่ยวจังหวัดสกลนคร
จึงแวะมาชมพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส พิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์
สร้างด้วยกระเบื้องดินเผางดงามมากค่ะ ส่วนภายในบริเวณวัดร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่สดชื่นสบายใจค่ะ
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์มีแผ่นป้ายประวัติของพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต ส่วนด้านในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเสมือนองค์ของพระอาจารย์มั่นในลักษณะท่านั่งสมาธิ
และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านอยู่เบื้องหน้าไว้ให้ประชาชนได้กราบไหว้ และบริเวณด้านข้างผนังจะมีตู้แสดงเครื่องอัฐบริขารให้ได้ชมกัน
ซึ่งประวัติของพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านได้กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม
จังหวัดอุบลราชธานี โดยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อตอนอายุ 15 ปี และอุปสมบถเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านได้ย้ายการธุดงค์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาสในจังหวัดสกลนคร
และได้มรณภาพที่วัดแห่งนี้ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492
พระอาจารย์มั่น
เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระสายวัดป่า
ท่านจะยึดมั่นในการปฏิมาธุดงค์กรรมฐาน ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า
ให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก ปัจจุบันยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมาจนบัดนี้
โดยลูกศิษย์เรียกท่านว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น
พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนถึงปัจจุบัน และมีพระในสายเดียวกันกับท่านอีกหลายองค์ที่เข้ามาปฏิบัติ
และฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของท่านเช่นกัน เช่น พระอาจารย์ฝั้น
อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงตามหาบัว
ญาณสัมปันโณ เป็นต้น ซึ่งวัดป่าสุทธาวาส
เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีสวยงามมากๆ หากมีโอกาสได้มาเยือนจังหวัดสกลนคร
อย่าลืมแวะมาชมและกราบไหว้ท่านกันนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น